มองย้อน
ถึงอดีต

สํานักวิจัยและพัฒนาได้รับจัดตั้งเป็นหน่วยงานตามประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2529 ให้เป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัย ทําหน้าที่กําหนดแนวทาง วางแผน ขับเคลื่อน และสนับสนุนภารกิจด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยโดยมุ่งการวิจัยสหสาขาวิชาในลักษณะที่เป็นการผนึกกําลังคน กําลังทรัพยากรร่วมกับทุกคณะหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก และนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคใต้ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ โดยมีอาจารย์สนอง จันทนินทร เป็นผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา 

อาจารย์สนอง จันทนินทร
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา (คนแรก)

พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน กับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยมีถ่ายทอดเทคโนโลยี และสำนักวิจัยและพัฒนา เป็นหน่วยปฏิบัติงาน

กุมภาพันธ์ 2529

รศ.ดร.สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล

ดร.สมศักดิ์ บรมธนรัตน์

ดร.ชิดชนก เชิงเชาว์

ในปี พ.ศ. 2531  หลังจากที่ อาจารย์สนอง ได้โอนย้ายไปรับราชการที่สภาพัฒน์ฯ ก็มีการสรรหาและทาบทาม ผู้อำนวยการคนใหม่ ในที่สุดก็ได้ รศ.ดร.สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการในเดือน กรกฎาคม 2531 และมีรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร คือ อาจารย์วีระ กระสินธุ์ จากวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการคือ ดร.สมศักดิ์ บรมธนรัตน์ จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและรองผู้อำนวยการประจำวิทยาเขตปัตตานี คือ ดร.ชิดชนก เชิงเชาว์ จากคณะศึกษาศาสตร์

โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องจากภาระงานเดิมและได้มีงานใหม่เพิ่มเติม เช่น การสำรวจข้อมูลนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ในสาขาวิชาต่างๆ เป็นฐานข้อมูลของสำนักฯ งานจัดตั้งข่ายงานจัดการทรัพยากรภาคใต้ (Sorment) โครงการจัดตั้งสถาบันวิชาการทรัพยากรชายฝั่ง (Corin) และงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น

 

2547 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยทั้งระบบ โดยมีสํานักวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยสนับสนุนปฏิบัติการหลักด้านการวิจัย จึงได้มีการรวมเนื้องานและ บุคลากรจากงานส่งเสริมการวิจัยและตํารา กองบริการการศึกษา เข้ากับสํานักวิจัยและพัฒนา และมีการโอนงานที่มีลักษณะ เป็นงานบริการวิชาการออกไปสังกัดหน่วยงานอื่น แล้วบูรณาการงานใหม่ออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายแผนและบริหาร ฝ่ายพัฒนาและประสานงานวิจัย ฝ่ายประยุกต์และเผยแพร่ผลงานวิจัย และฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม

 

พฤศจิกายน พ.ศ. 2562  ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กําหนดให้สํานักวิจัยและพัฒนาเป็นส่วนงานประเภท อํานวยการและสนับสนุนภารกิจกลางของมหาวิทยาลัย มีภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการเพื่อสร้างศักยภาพงานวิจัยและนวัตกรรม กํากับทิศทางและยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัยและการพัฒนาประเทศ หรือภารกิจอื่นตามที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย มีการแบ่งโครงสร้างและส่วนงานภายในออกเป็น 5 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ฝ่ายบริหารจัดการทุนวิจัย ฝ่ายข้อมูลและสารสนเทศวิจัย ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม และฝ่ายบูรณภาพการวิจัย นอกจากนี้ ยังมีสถาบันวิจัยและนวัตกรรมรวม 7 สถาบัน เป็นหน่วยงานภายใต้การกํากับดูแลของสํานักฯ

ทีมบริหาร

2564-ปัจจุบัน

ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา

รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

รศ.ดร.ศุภศิลป์ มณีรัตน์

ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา

ผศ.ดร.พลชาติ โชติการ

รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รศ.ดร.มัทนชัย สุทธิพันธุ์

รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

PSU Reseach LOGO

ปัจจุบัน

และอนาคต

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry’s standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book. It has survived not only five centuries, but also the leap into electronic typesetting, remaining essentially unchanged. It was popularised in the 1960s with the release of Letraset sheets containing Lorem Ipsum passages, and more recently with desktop publishing software like Aldus PageMaker including versions of Lorem Ipsum.

 

Contrary to popular belief, Lorem Ipsum is not simply random text. It has roots in a piece of classical Latin literature from 45 BC, making it over 2000 years old. Richard McClintock, a Latin professor at Hampden-Sydney College in Virginia, looked up one of the more obscure Latin words, consectetur, from a Lorem Ipsum passage, and going through the cites of the word in classical literature, discovered the undoubtable source. Lorem Ipsum comes from sections 1.10.32 and 1.10.33 of “de Finibus Bonorum et Malorum” (The Extremes of Good and Evil) by Cicero, written in 45 BC. This book is a treatise on the theory of ethics, very popular during the Renaissance. The first line of Lorem Ipsum, “Lorem ipsum dolor sit amet..”, comes from a line in section 1.10.32.

The standard chunk of Lorem Ipsum used since the 1500s is reproduced below for those interested. Sections 1.10.32 and 1.10.33 from “de Finibus Bonorum et Malorum” by Cicero are also reproduced in their exact original form, accompanied by English versions from the 1914 translation

เนื่องในโอกาสครบรอบ 38 ปี ของสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ผมในฐานะผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาขอแสดงความยินดีและขอบคุณอาจารย์และนักวิจัยทุกท่านที่ได้ร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาและสนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด

ในโอกาสนี้ ผมขอแสดงความขอบคุณในความทุ่มเทและความมุ่งมั่นของอาจารย์และนักวิจัยทุกท่านที่ได้ทำงานวิจัยอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและมาตรฐานสูงสุดในการวิจัย การทำงานวิจัยของทุกท่านเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตลอดจนภาคใต้และประเทศได้รับการแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาอย่างยั่งยืนจากองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้งสำหรับความร่วมมือและการสนับสนุนที่ดีเสมอมา และขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงและประสบความสำเร็จในงานวิจัยทุกประการ

รศ.ดร.ศุภศิลป์ มณีรัตน์

ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา

อยากบอกอะไร

ถึงสำนักวิจัยฯ

© 2024 RESEARCH AND DEVELOMENT OFFICE ALL RIGHTS RESERVED

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy