รางวัล “Research & Innovation Award for Mankind 2024” จัดขึ้นโดย สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นการรวมเอาสองรางวัลด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย อย่างรางวัลนวัตกรรมสงขลานครินทร์ และรางวัลผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน มาผนวกร่วมกัน เพื่อให้เกิดเป็นรางวัลใหญ่ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย ด้วยความตั้งใจที่จะกระตุ้น และส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีการประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในสังคม หรือต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้จริง รวมถึงเป็นเวทีเพื่อผลักดันผลงานของมหาวิทยาลัยไปสู่เวทีระดับนานาชาติต่อไปได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านได้แก่ ด้าน Commercialization  และ ด้าน Area, Society-Community and Policy

ข่าวล่าสุด

ไทม์ไลน์

6 ธันวาคม 2566

รับสมัครผลงานเข้าประกวด

1. ผู้เข้าแข่งขันต้องส่งรายชื่อพร้อมใบสมัครมาภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2566

2. ผู้เข้าแข่งขันต้องจัดทำไฟล์ประกอบ (โปสเตอร์ / VDO / แผนโมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) หรือ แผนการนำไปใช้ประโยชน์ ภายในวันที่ 10 มกราคม 2567

15-16 มกราคม 2567

อบรมผู้เข้าแข่งขัน

ผู้เข้าอบรมทุกท่าน จะต้องเข้าอบรม โดยมีเวลาเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 50 % ของเวลาอบรมทั้งหมด มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์เข้าแข่งขันรอบคัดเลือก

17 มกราคม 2567

การแข่งขันรอบคัดเลือก

ผู้เข้าแข่งขันต้องนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการแต่ละด้านแบบปิด (เข้านำเสนอทีละทีม) พร้อมตอบข้อซักถามคณะกรรมการ เพื่อหาผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ

4 กุมภาพันธ์ 2567

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและมอบรางวัล

ผู้เข้าแข่งขันต้องนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการโดยเป็นการแข่งขันแบบถ่ายทอดสด พร้อมตอบข้อซักถามคณะกรรมการ เพื่อหาผู้ได้รับรางวัล

13 มีนาคม 2567

รับประกาศนียบัตรในงานคุณค่าสงขลานครินทร์

ผู้ได้รับรางวัลทุกทีมเข้ารับประกาศนียบัตรจากอธิการบดี พร้อมนำผลงานไปจัดแสดงนิทรรศการในงานคุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2567

สมัคร

  1. หัวหน้าทีมต้องเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ยังคงสถานะอยู่ภายในวันที่สมัคร โดยมีหัวหน้าส่วนงานเป็นผู้ลงนามรับรองในใบสมัคร
  2. สามารถส่งผลงานแบบบุคคลเดียวหรือกลุ่มได้ โดยสมาชิกในทีมสามารถเป็นได้ทั้งนักวิจัย บุคลากร นักศึกษาทุกระดับ
  3. ไม่จำกัดจำนวนสมาชิกและจำนวนผลงานต่อ 1 ทีม

ผู้ประสงค์จะส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องดาวน์โหลดแบบฟอร์ม  และกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มการสมัครพร้อมแนบไฟล์ ดังนี้

  1. ใบสมัครที่กรอกข้อมูลและลงนามเรียบร้อยแล้ว
  2. โปสเตอร์แนะนำผลงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
    • แนวตั้ง ความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi (ขนาด A3)
    • ไม่จำกัดรูปแบบการนำออกแบบ (หัวข้อที่ควรมี : ชื่อผลงาน / ทีมสร้างพร้อมต้นสังกัด / ช่องทางติดต่อ / ที่มา / หลักการหรือขั้นตอน / ลักษณะเด่น / มิติการนำผลงานไปใช้ประโยชน์และหลักฐานเชิงประจักษ์ / ภาพผลงาน)
    • ส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ PDF / JPG / PSD / PNG / AI อย่างใดอย่างหนึ่ง
  3. วิดีโอ
    • นำเสนอแบบ Pitching Presentation ไม่เกิน 3 นาที ความละเอียดไม่ต่ำกว่า HD (1280 x 720 p)
    • ส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ MP4 , MPG , WMV , MOV , FIV อย่างใดอย่างหนึ่ง
  4. แผนโมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) หรือ แผนการนำไปใช้ประโยชน์ที่แสดงให้ถึงโมเดลที่ประสบความสำเร็จ และแผนการต่อยอดในอนาคต

ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 23.59 น.

อัพโหลดไฟล์ข้างต้นลงใน Google Drive และส่งลิงค์ที่สามารถเข้าถึงไฟล์ได้
มาที่ E-mail: psu.innovationaward@gmail.com
ภายในวันที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 23.59 น.

  1. คุณภาพของผลงาน (30 คะแนน)
    • ความสำคัญของปัญหาและความเชี่ยวชาญของทีมวิจัย (10 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

1

ลักษณะของผลงานแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในสาขาของหัวหน้าโครงการ/ทีมวิจัย

5

ลักษณะของผลงานแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในสาขาของหัวหน้าโครงการ/ทีมวิจัย สามารถระบุปัญหาหรือความต้องการที่มาจากการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย

10

ลักษณะของผลงานแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในสาขาของหัวหน้าโครงการ/ทีมวิจัย สามารถระบุปัญหาหรือความต้องการที่มาจากการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย มีการแสดงการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ความรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นที่ประจักษ์

 

    • ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผลงานวิจัย (20 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

1

ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในชุมชน/สังคม แสดงให้เกิดการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น หรือสังคม มีคุณภาพมากพอที่จะเป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น

5

ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในชุมชน/สังคม แสดงให้เกิดการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น หรือสังคม มีคุณภาพมากพอที่จะเป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น และเป็นต้นแบบให้ท้องถิ่นหรือสังคมอื่นข้างเคียง

10

ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในชุมชน/สังคม แสดงให้เกิดการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น หรือสังคม มีคุณภาพมากพอที่จะเป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น และเป็นต้นแบบให้ท้องถิ่นหรือสังคมอื่นข้างเคียง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย หรือถูกนำไปใช้เป็นนโยบายในระดับจังหวัด/ประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

15

ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในชุมชน/สังคม แสดงให้เกิดการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น หรือสังคม มีคุณภาพมากพอที่จะเป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น และเป็นต้นแบบให้ท้องถิ่นหรือสังคมอื่นข้างเคียง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย หรือถูกนำไปใช้เป็นนโยบายในระดับจังหวัด/ประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลกระทบต่อสังคมหรือแวดวงวิชาการอย่างกว้างขวาง เป็นที่ยอมรับหรือได้รับรางวัลจากองค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

20

ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในชุมชน/สังคม แสดงให้เกิดการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น หรือสังคม มีคุณภาพมากพอที่จะเป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น และเป็นต้นแบบให้ท้องถิ่นหรือสังคมอื่นข้างเคียง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย หรือถูกนำไปใช้เป็นนโยบายในระดับจังหวัด/ประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลกระทบต่อสังคมหรือแวดวงวิชาการอย่างกว้างขวาง เป็นที่ยอมรับหรือได้รับรางวัลจากองค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีศักยภาพในการระบุประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ได้ชัดเจน

 

  1. ความเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง (20 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

1

มีการจัดเวทีนำเสนอผลงานในพื้นที่

5

มีการจัดเวทีนำเสนอผลงานในพื้นที่ และเปิดให้เยี่ยมชมพื้นที่

10

มีการจัดเวทีนำเสนอผลงานในพื้นที่ และเปิดให้เยี่ยมชมพื้นที่ รวมถึงเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างกว้างขวางในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สอดคล้องกับผลงาน

15

มีการจัดเวทีนำเสนอผลงานในพื้นที่ และเปิดให้เยี่ยมชมพื้นที่ รวมถึงเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างกว้างขวางในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สอดคล้องกับผลงาน มีการบันทึกเอกสารหรือเป็นลายลักษณ์อักษรที่สามารถใช้อ้างอิงหรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

20

มีการจัดเวทีนำเสนอผลงานในพื้นที่ และเปิดให้เยี่ยมชมพื้นที่ รวมถึงเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างกว้างขวางในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สอดคล้องกับผลงาน มีการบันทึกเอกสารหรือเป็นลายลักษณ์อักษรที่สามารถใช้อ้างอิงหรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ และมีหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพ โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

 

  1. คุณค่าและความยั่งยืนของผลงาน (30 คะแนน)
    • คุณค่าของผลงาน (10 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

1

เป็นผลงานที่มีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับของท้องถิ่นและสังคมเป้าหมาย

5

เป็นผลงานที่มีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับของท้องถิ่นและสังคมเป้าหมาย แสดงให้เห็นสภาพการณ์ของท้องถิ่นและสังคมก่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

10

เป็นผลงานที่มีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับของท้องถิ่นและสังคมเป้าหมาย แสดงให้เห็นสภาพการณ์ของท้องถิ่นและสังคมก่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ชัดเจน

 

  • ความยั่งยืนของผลงาน (20 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

2

มีการคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้น

5

มีการคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้น และประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความรู้ หรือความเชี่ยวชาญจากสาขาของนักวิจัย

10

มีการคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้น และประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความรู้ หรือความเชี่ยวชาญจากสาขาของนักวิจัย มีแนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป

15

มีการคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้น และประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความรู้ หรือความเชี่ยวชาญจากสาขาของนักวิจัย มีแนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป มีแผนงานและกระบวนการต่อยอดเพื่อพัฒนาสังคมอย่างชัดเจน

20

มีการคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้น และประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความรู้ หรือความเชี่ยวชาญจากสาขาของนักวิจัย มีแนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป มีแผนงานและกระบวนการต่อยอดเพื่อพัฒนาสังคมอย่างชัดเจนและสร้างรากฐานให้สังคมสามารถพัฒนาตามแผนได้ด้วยตนเอง

 

  1. การนำเสนอผลงานและตอบข้อซักถาม (20 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

5

โปสเตอร์และวิดีโอประกอบ นำเสนอได้ตรงกับวัตถุประสงค์ ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด

10

โปสเตอร์และวิดีโอประกอบ มีลำดับการนำเสนอ ตรงกับวัตถุประสงค์ ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด มีรูปแบบกระบวนการนำเสนอที่น่าสนใจ

15

โปสเตอร์และวิดีโอประกอบมีความน่าสนใจ มีลำดับการนำเสนอ ตรงกับวัตถุประสงค์ ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด มีรูปแบบกระบวนการนำเสนอที่น่าสนใจ จัดลำดับการนำเสนอได้ชัดเจน

20

โปสเตอร์และวิดีโอประกอบมีความน่าสนใจ จัดลำดับการนำเสนอชัดเจน ตรงกับวัตถุประสงค์ อ่านง่ายไม่สับสน ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด มีรูปแบบกระบวนการนำเสนอที่น่าสนใจ จัดลำดับการนำเสนอได้ชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์

  1. ระดับความใหม่ของผลงาน/กระบวนการ (ความคิดสร้างสรรค์ 20 คะแนน)

     

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

2

มีผลิตภัณฑ์/กระบวนการ/เทคโนโลยีที่เหมือนกันอยู่แล้วไม่มีการปรับปรุง

5

นำผลิตภัณฑ์/กระบวนการ/เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุง เป็นผลงาน/กระบวนการที่มีความใหม่ในระดับประเทศ

10

นำผลิตภัณฑ์/กระบวนการ/เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุง เป็นผลงาน/กระบวนการที่มีความใหม่ในระดับประเทศและต่างประเทศ

15

เป็นผลิตภัณฑ์/กระบวนการ/เทคโนโลยีที่พัฒนาใหม่จนเป็นผลงาน/กระบวนการใหม่ในระดับประเทศ

20

เป็นผลิตภัณฑ์/กระบวนการ/เทคโนโลยีที่พัฒนาใหม่จนเป็นผลงาน/กระบวนการใหม่ในระดับประเทศและต่างประเทศ

 

  1. คุณภาพของผลงาน (30 คะแนน)
    • ความโดดเด่นด้านประโยชน์ของผลงาน/กระบวนการ (10 คะแนน)
  •  

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

1

ประโยชน์ของผลงาน/กระบวนการนี้เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์/กระบวนการ/เทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่

5

ประโยชน์ผลงาน/กระบวนการนี้ใช้งานได้มากกว่าเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์/กระบวนการ/เทคโนโลยีนี้เดิม

10

ประโยชน์ของผลงาน/กระบวนการนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์/กระบวนการ/เทคโนโลยีเดิมหายไป หรือมีประโยชน์สูงเนื่องจากไม่เคยมีการใช้มาก่อน

 

    • ความสำคัญของผลงาน/กระบวนการ (10 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

1

ไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาที่สอดคล้องกับผลงาน/กระบวนการนี้

5

สามารถแสดงให้เห็นถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาที่สอดคล้องกับผลงาน/กระบวนการนี้เพียงบางส่วน

10

สามารถแสดงให้เห็นถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาที่สอดคล้องกับผลงาน/กระบวนการนี้ได้อย่างชัดเจน

 

    • ความถูกต้องทางวิชาการ (10 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

1

ไม่มีความถูกต้องทางวิขาการ ข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

5

ข้อมูลมีความถูกต้องทางวิชาการ แต่ข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลเพียงบางส่วน

10

ข้อมูลมีความถูกต้องทางวิชาการ และข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกต้อง

 

  1. คุณค่าของผลงาน/ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง (30 คะแนน)
    • ผลงาน/กระบวนการเสนอประโยชน์ชัดเจน (20 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

2

ผลงาน/กระบวนการมีประโยชน์ที่ไม่ชัดเจนในการนำไปแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้ หรือมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน

5

ผลงาน/กระบวนการมีประโยชน์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้แต่มีความยุ่งยากในการใช้งาน

10

ผลงาน/กระบวนการมีประโยชน์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้งาน

15

ผลงาน/กระบวนการมีประโยชน์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เกินกว่าความคาดหวังของผู้ใช้งาน (Beyond Expectation)

20

ผลงาน/กระบวนการได้เสนอประโยชน์ที่ผู้ใช้งานไม่เคยได้รับการตอบสนองมาก่อน (Unmet need)

 

    • 3.2 ผลงาน/กระบวนการมีตลาดและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการ (10 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

1

ไม่มีตลาดและกลุ่มเป้าหมายในการนำผลงาน/กระบวนการไปใช้งานอย่างชัดเจน ไม่น่าสนใจในการลงทุน

5

สามารถระบุตลาด และกลุ่มเป้าหมายหลักที่สอดคล้องกับเทรนด์ใหม่ได้ มีความน่าสนใจในการลงทุนระดับปานกลาง

10

สามารถระบุตลาด กลุ่มเป้าหมายหลัก และกลุ่มเป้าหมายรองที่สอดคล้องกับเทรนด์ใหม่ได้ มีความน่าสนใจในการลงทุนสูง

 

  1. การนำเสนอผลงานและตอบข้อซักถาม (20 คะแนน)

ระดับคะแนน

หัวข้อเกณฑ์การประเมิน

5

โปสเตอร์และวิดีโอประกอบ นำเสนอได้ตรงกับวัตถุประสงค์ ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด

10

โปสเตอร์และวิดีโอประกอบ มีลำดับการนำเสนอ ตรงกับวัตถุประสงค์ ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด มีรูปแบบกระบวนการนำเสนอที่น่าสนใจ

15

โปสเตอร์และวิดีโอประกอบมีความน่าสนใจ มีลำดับการนำเสนอ ตรงกับวัตถุประสงค์ ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด มีรูปแบบกระบวนการนำเสนอที่น่าสนใจ จัดลำดับการนำเสนอได้ชัดเจน

20

โปสเตอร์และวิดีโอประกอบมีความน่าสนใจ จัดลำดับการนำเสนอชัดเจน ตรงกับวัตถุประสงค์ อ่านง่ายไม่สับสน ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด ผู้นำเสนอสามารถอธิบายผลงานได้กระชับในระยะเวลาที่กำหนด มีรูปแบบกระบวนการนำเสนอที่น่าสนใจ จัดลำดับการนำเสนอได้ชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์

รางวัล

ด้าน Commercialization และ Area, Society-Community and Policy

พร้อมโล่และประกาศนียบัตร

Gold Award

บาท / รางวัล
0

Silver Award

บาท / รางวัล
0

Bronze Award

บาท / รางวัล
0

รางวัลผลงานน่าลงทุน ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร

รางวัล Popular Vote ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

ทุกทีมที่เข้าประกวดจะได้รับประกาศนียบัตร

ติดต่อ

น.ส.สุธาวดี นาคะโร

ผู้รับผิดชอบโครงการ

สํานักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ชั้น 11 – 12 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

© 2024 RESEARCH AND DEVELOMENT OFFICE ALL RIGHTS RESERVED

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy