งานศึกษาวิจัย งานวิจัย การทดลอง : ยกเว้น งานศึกษาวิจัยหรือสํารวจสัตว์จากธรรมชาติที่อยู่ตามธรรมชาติโดยไม่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตตามปกติของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
การทดสอบ การผลิตชีววัตถุ : ยกเว้น งานตรวจวินิจฉัยเพื่อการจัดการสุขภาพสัตว์หรืองานนิติวิทยาศาสตร์
การเรียนการสอน : ยกเว้น งานสอนที่มีการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
งานฝึกอบรม : ยกเว้น งานฝึกอบรมสัมมนาสาธิตหรือประชุมทางวิชาการที่มีการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการของผู้รับผิดชอบการจัดงานหรือสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
สัตว์ตามคำนิยาม หมายถึง
(1) สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งไม่ใช่มนุษย์
(2) ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ที่เกิดขึ้นหลังจากไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิจนผ่านระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตจนถึงครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการตั้งท้องหรือการฟักตัวของไข่ แล้วแต่ชนิดของสัตว์
(3) เซลล์ของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ซึ่งไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์ ที่สามารถพัฒนาเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น ตัวอ่อนหรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะต่อไปได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปจากเดิม
(4) สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดตามที่กำหนด ในกฎกระทรวงซึ่งหมายถึง
6.หอยในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
7.หนอนตัวกลมในไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda)
ประมาณ 1.5 – 2 เดือน แต่ขึ้นอยู่กับการปรับแก้ของนักวิจัย และระยะเวลาการยื่นขอพิจารณา ทั้งนี้หากนักวิจัยยื่นขอรับรองมาในสัปดาห์แรกของเดือนโครงการจะได้รับนำเข้าพิจารณาในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน
จำเป็นต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสพสว.วช. หากนักวิจัยท่านใดยังไม่ผ่านการอบรม สามารถเข้าไปลงทะเบียน ออนไลน์ได้ที่ https://labanimals.nrct.go.th/ เพื่อขึ้นทะเบียนขอเลขที่รับรองใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ หากได้รับเลขเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการจะรับการพิจารณาโครงการของท่าน (U1-06365-2561) แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยที่ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ควรมีประสบการณ์การใช้สัตว์ฯ และมีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้สัตว์
ผู้รับผิดชอบหลักที่ขอใช้สัตว์ต้องเป็นผู้ที่มีเลขที่คำขอรับใบอนุญาตที่ผ่านการอบรมจาก สพสว. (U1-06365-2561) อาจไม่ใช่หัวหน้าโครงการ แต่อาจเป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย ที่มีเลขที่คำขอรับใบอนุญาต
จะต้องมีเลขที่คำขอใบอนุญาต ผู้วิจัยที่มีการดำเนินการต่อสัตว์จำเป็นต้องมีคำขอใบอนุญาต หากนักวิจัยชาวต่างชาติไม่มีเลขที่คำขอใบใบอนุญาต สามารถให้ผู้ร่วมวิจัยในโครงการซึ่งเป็นผู้ดำเนินการต่อสัตว์ที่มีเลขที่คำขอใบอนุญาต ยื่นขอใช้สัตว์ทดลองได้ แต่ผู้ดำเนินการต่อสัตว์ทุกท่านจำเป็นต้องมีเลขที่ใบคำขออนุญาต
หากรายวิชาที่ถ่ายทำวิดีโอ โดยไม่ได้นำสัตว์มาทำการตัดต่อวิดีโอใหม่ ไม่จำเป็นต้องยื่นขอรับรองอีก แต่หากใช้สัตว์ในการถ่ายทำใหม่ ต้องยื่นขอ amendment (เปลี่ยนแปลงรายละเอียด) ใหม่
ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2558 ได้มีการประกาศ “พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558” ลงในราชกิจจานุเบกษา โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2558
อาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่อื่นใดที่มีการดำเนินการต่อสัตว์ เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมถึงพื้นที่โดยรอบของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มี การดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ด้วย (ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามมาตรา 21)
สถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์การประเมิน แต่จะมี ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามข้อกำหนด ของประกาศพระราชบัญญัติเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 2558 มาตรา21,มาตรา22(4),มาตรา23,มาตรา25,มาตรา25(4),26,มาตรา8(11) และในเบื้องต้นให้คณะ/หน่วยงานที่มีการเข้าตรวจประเมินโดย สถาบันการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ
กรณีคณะ/หน่วยงานที่มีการจดแจ้งเป็นสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์ในภาพรวมของคณะเรียบร้อยแล้ว การจดแจ้งเพิ่มให้จดแจ้งข้อมูลผ่านผู้ดูและระบบการจดแจ้งของสถานที่ดำเนินการของคณะ/หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดคณะที่มีการจดแจ้งแล้วดังนี้
กรณีคณะ/หน่วยงานที่ยังไม่มีการจดแจ้งข้อมูลเป็นสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์ การดำเนินการกรอกข้อมูลแบบ สพสว.วช.–ปป.2 พร้อมแนบเอกสารให้ครบถ้วน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามมาตรา 21 ส่งมายังสำนักวิจัยและพัฒนา
ถ้าเป็นซากสัตว์หรือสัตว์ที่ตายแล้ว ไม่ต้องยื่นขออนุญาตจาก คกส เช่น การเอาชิ้นส่วนของผิวหนังจากสุกรที่ตายแล้วจากโรงฆ่าสัตว์มาใช้ในงานวิจัย หรือนักวิจัยอาจขอเป็นประเภท exempt เพื่อใช้ในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในอนาคตสำหรับวารสารที่ถามหาหนังสือรับรอง
นักวิจัยที่ได้รับการรับรองการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ จากคณะกรรมการฯ จำเป็นต้องรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานที่ใช้สัตว์ มายังสำนักวิจัยและพัฒนา ทุก 6 เดือน โดยให้รายงานความก้าวหน้าเดือนที่ 3 (ข้อมูล ตุลาคม – มีนาคม) และ เดือนที่ 9 (ข้อมูล เมษายน – กันยายน) ของปี จนเสร็จสิ้นโครงการใช้สัตว์
หรือรายงานการใช้สัตว์ทุกครั้งที่มีการใช้สัตว์ ผ่านระบบ https://rid.psu.ac.th/animal/aup/
หากนักวิจัยมีความประสงค์จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ นอกเหนือจากการขอการรับรองในครั้งแรก นักวิจัยจะต้องทำการ ขอ amendment ก่อนดำเนินการทุกครั้ง
กวิจัยสามารถขอใช้สัตว์ทดลองเพิ่มเพื่อกันการเสียชีวิตของสัตว์ ได้ 10 % นอกเหนือจากการคำนวณตามหลักสถิติ แต่ต้องแจ้งในครั้งแรกที่ขอใช้สัตว์ (กรณีขอภายหลังนักวิจัยสามารถขอ ขอ amendment ก่อนดำเนินการ ในการพิจารณาประธานจะพิจารณาให้กรณีไม่เกิน 10 % จากการคำนวณ หากเกินจะนำเข้าหารือในที่ประชุมก่อนทำการอนุมัติ)
นักวิจัยควรขอการรับรองก่อนการทำการวิจัย และเผื่อระยะเวลาการพิจารณาโครงการอย่างน้อย 2 เดือน
แผนการใช้สัตว์หมายถึงเวลาในการเริ่มการทดลอง เช่น เริ่มทดลองที่เดือนไหนสิ้นสุด เมื่อใด เป็นต้น โดยสามารถทำเป็น Gantt chart ได้
การขอรับรองมีข้อยกเว้นงานศึกษาวิจัยหรือสํารวจสัตว์จากธรรมชาติที่อยู่ตามธรรมชาติโดยไม่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตตามปกติของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
สัตว์ตามคำนิยาม ในพระราชบัญญัติ “สัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์” พ.ศ. 2558
ยื่นโครงการวิจัยผ่านระบบ https://rid.psu.ac.th/animal/aup/ มายังคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คกส.) โครงการวิจัยต้องมีนักวิจัยอย่างน้อย 1 คน ผ่านการอบรและมีใบอนุญาตใช้สัตว์รหัส U อาจเป็นนักวิจัยหลักหรือผู้ร่วมวิจัยที่ กรณีเป็นโครงการวิจัยสำหรับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาหลักและหรืออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม จะต้องมีใบอนุญาตใช้สัตว์ ส่วนสำหรับนักศึกษา ถ้าเป็นไปได้ควรมีใบอนุญาตใช้สัตว์ด้วย ทำการให้ข้อมูล ให้ครบถ้วนและมีรายละเอียดที่ทำให้ คกส. สามารถเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยที่ขอใช้สัตว์ และควรคำนึงถึงหลัก 3Rs ในการออกแบบการวิจัย และทำการ Submit โครงการผ่านระบบ หลังจากนั้นสามารถตตรวติดตามตรวจสอบสถานะโครงการผ่านระบบ
หากโครงการวิจัยที่ 1 ได้มีการขออนุญาตหรือแจ้งต่อ คกส.ไว้แล้วว่าจะมีการแยกชิ้นเนื้อหรืออวัยวะของสัตว์ทดลอง เพื่อใช้ในโครงการวิจัยที่ 2 (ระบุไว้ชัดเจน) โครงการที่ 2 ไม่จำเป็นต้องขออนุมัติโครงการจาก คกส. แต่ถ้านักวิจัยไม่ได้ระบุในโครงการวิจัยที่ 1 ว่าจะมีการแยกชิ้นเนื้อหรืออวัยวะของสัตว์ทดลองที่จะนำมาใช้วิจัยต่อในโครงการวิจัยที่ 2 นักวิจัยจะต้องทำการขอ amendment จากโครงการแรก และควรยื่นขอในโครงการที่ 2 เป็นประเภท exempt
เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy