Facebook
Twitter
Email

นักวิจัย ม.อ.ร่วมเวทีเสวนา Blue Carbon ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลชาติ โชติการ คณบดีคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมเวทีเสวนาเรื่อง Blue Carbon ทิศทางการวิจัยทางทะเลของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สนิท อักษรแก้ว ที่ปรึกษาในสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานคณะกรรมการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพสังคม และสิ่งแวดล้อม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุม ร่วมกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ดร.นวรัตน์ ไกรพานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คุณอภิสิทธิ์ เสนาวงศ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จริยาวดี สุริยพันธุ์ จากมหาวิทยาลัยบูรพา และดำเนินการเสวนาโดย ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โดยเป็นหนึ่งกิจกรรมภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” (Thailand Research Expo 2024)  

ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว กล่าวถึงความสำคัญของเวทีเสวนานี้ว่า ประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมนำมาสู่การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนการวิจัย Blue Carbon ทางทะเลโดยความร่วมมือกับหลายภาคส่วนในการเชื่อมโยงงานวิจัยไปสู่การเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ Blue Carbon เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และอนุรักษ์การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าได้อย่างยั่งยืน ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ ก็ได้แสดงข้อมูลให้เห็นว่า การวิจัยทางทะเลของประเทศไทยด้าน Blue Carbon นั้น สามารถดำเนินงานได้ในหลากหลายรูปแบบหรือช่องทาง อาทิ deep ocean, nature base solution และศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เพื่อหาวิธีในการฟื้นฟูสู่การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญของประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต 

ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลชาติ โชติการ ในฐานะนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน จาก วช. ก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิจัยเรื่อง ศักยภาพของการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนและหญ้าทะเลตามธรรมชาติและปลูกบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน มาให้เห็นถึงความสำเร็จของนักวิจัยไทย 

ข่าวยอดนิยม

Facebook Page

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy