กลับไปเว็บไซต์เดิม

Facebook
Twitter
Email

ขอแสดงความยินดีกับห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในรูปแบบ peer evaluation

ห้องปฏิบัติการ ม.อ.

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตชไม โอวาทฬารพร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในการมอบโล่ให้แก่ห้องปฏิบัติการ ที่ได้รับการรับรองผ่านโครงการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการ ในรูปแบบ peer evaluation ซึ่งมีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองในระยะที่ 1 ดังนี้

  1. ห้องปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับการรับรองทุกองค์ประกอบ (7 องค์ประกอบ)
  2. ห้องปฏิบัติการสถานวิจัยการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการรับรอง 6 องค์ประกอบ
  3. ห้องปฏิบัติการ 4 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับการรับรอง 6 องค์ประกอบ
  4. ห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ได้รับการรับรอง 6 องค์ประกอบ
  5. ห้องปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเชื้อรา คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการรับรอง 5 องค์ประกอบ
  6. ห้องเคมีวิเคราะห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับการรับรอง 5 องค์ประกอบ
  7. ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับการรับรอง 5 องค์ประกอบ
  8. ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ R102 สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ ได้รับการรับรอง 5 องค์ประกอบ

 

นอกจากนี้ยังมีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองในระยะที่ 2 ดังนี้

  1. ห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพสมุนไพร ศูนย์ปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ได้รับการรับรองทุกองค์ประกอบ (7 องค์ประกอบ)
  2. ห้องปฏิบัติการอิมมูโนพยาธิวิทยา (PSU_Med11) คณะแพทยศาสตร์ ได้รับการรับรอง 6 องค์ประกอบ
  3. ห้องปฏิบัติการวิจัยศูนย์วิจัยการแพทย์ปริวรรต (PSU_Med1) คณะแพทยศาสตร์ ได้รับการรับรอง 6 องค์ประกอบ
  4. Bsc.0206 ห้องปฏิบัติการกลางทางเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลฯ (PSU_Sci 78) คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการรับรอง 6 องค์ประกอบ

 

สำหรับการรับรองมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ ในรูปแบบ peer evaluation หรือ มาตรฐานระบบตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบการยอมรับร่วม มีการประเมินทั้งหมด 137 ข้อ ใน 7 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
  2. ระบบการจัดการสารเคมี
  3. ระบบการจัดการของเสียสารเคมี
  4. ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือ
  5. ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย
  6. การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
  7. การจัดการข้อมูลและเอกสาร

 

โดย วช. จะกำหนดเกณฑ์รับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัย โดยมีคะแนนองค์ประกอบรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 คิดแยกตามองค์ประกอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในแต่ละองค์ประกอบ และจะต้องมีอย่างน้อย 1 องค์ประกอบที่ได้คะแนนเต็ม 100% และมีอายุการรับรอง 3 ปี หลังจากนั้นจะต้องมีการยื่นเพื่อขอพิจารณาใหม่อีกครั้ง

ข่าวยอดนิยม

Facebook Page

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy