Facebook
Twitter
Email

นักวิจัย ม.อ. คว้า 12 รางวัล ผลงานคุณภาพ NRCT Quality Achievement Award 68

ผลงานคุณภาพ NRCT Quality Achievement Award

สำนักวิจัยและพัฒนา ขอเชิญร่วมแสดงความยินดีกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่สร้างสรรค์ผลงานทั้ง ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และผลงานประดิษฐ์คิดค้น จนได้รับคัดเลือกให้เป็น ผลงานคุณภาพ NRCT Quality Achievement Award ประจำปี 2568  ดังนี้

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภทผลงานวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานเรื่อง “เซนเซอร์ทางแสงและเทคนิคการเตรียมตัวอย่างสำหรับตรวจวิเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ที่เป็นพิษปริมาณน้อย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. โอภาส บุญเกิด และทีมวิจัย คณะวิทยาศาสตร์

ประเภทผลงานวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานเรื่อง “โรคปอดบวมจากโควิด-19 และความเสี่ยงที่จะเป็นวัณโรคปอดตามมา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พลกฤต ขำวิชา และ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ คณะแพทยศาสตร์

ประเภทผลงานวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากผลงานเรื่อง “นวัตกรรมข้าวหมากซินไบโอติกจากข้าวเหนียวดำกล้องงอกและการปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคโนโลยีเอนไซม์” โดย ศาสตราจารย์ ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร

ประเภทผลงานวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากผลงานเรื่อง “นวัตกรรมกล้าเชื้อซิมไบโอติกเพื่อการสกัดแอลฟาและเบต้าไคติน พร้อมทั้งผลิตผลพลอยได้มูลค่าสูงจากวัสดุเศษเหลือโรงงานแปรรูปอาหารทะเล” โดย ศาสตราจารย์ ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา สุโยธา คณะอุตสาหกรรมเกษตร

ประเภทผลงานวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากผลงานเรื่อง “กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตชีวภัณฑ์มูลค่าสูง จากวัสดุเศษเหลือโรงงานแปรรูปอาหารทะเลอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา สุโยธา คณะอุตสาหกรรมเกษตร

ประเภทวิทยานิพนธ์

ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานเรื่อง “ประโยชน์ทางคลินิกของการทดสอบการทำงานของลำไส้เล็กในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร” โดย ดร.แพทย์หญิงอัจฉริยา จันทร์ผ่อง คณะแพทยศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา : Prof Simon Eaton, Prof Nikhil Thapar

ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานเรื่อง “การประดิษฐ์ท่อหายใจที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียและไบโอฟิล์มโดยการเคลือบอนุภาคซิลเวอร์นาโนซึ่งใช้สารสกัดจากใบยูคาลิปตัสเป็นสารรีดิวซ์” โดย ดร.ศักรินทร์ เหล่ทองคำ คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉลองรัฐ แดงงาม คณะวิทยาศาสตร์

ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานเรื่อง “การพัฒนาคู่มือช่วยตัดสินใจเรื่องการให้อาหารและสารน้ำแก่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมขั้นรุนแรงในโรงพยาบาล” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ กันต์ธีร์ อนันตพงศ์ คณะแพทยศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา : Professor Elizabeth Sampson and Professor Nathan Davies University College London (UCL)

ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานเรื่อง “เซนเซอร์และไบโอเซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าโดยการปรับปรุงขั้วไฟฟ้าตรวจวัดด้วยวัสดุนาโน” โดย ดร.สัณฐิศักดิ์ ชุมเงิน คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร. อาภรณ์ นุ่มน่วม และ ศาสตราจารย์ ดร.ปณต ถาวรังกูร คณะวิทยาศาสตร์

ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานเรื่อง “ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ทำงานได้ดีภายใต้แสงวิสิเบิลสำหรับการสลายสีย้อมเอโชและยาปฏิชีวนะ” โดย ดร.ธีรเดช เสนาสุข คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.สุวัตร นานันท์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานเรื่อง “การเตรียมแผ่นแปะที่มีส่วนผสมของสารสกัดมาตรฐานบัวบกที่มีสารเพ็ญตะไซ คลิกไตร์เทอร์ปีนพอลิแซกคาไรด์จากเจลว่านหางจระเข้และเมือกจากเมล็ดแมงลัก” โดย ดร.มิ่งขวัญ ราชภิรมย์ ศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ คณะเภสัชศาสตร์

ประเภทผลงานประดิษฐ์คิดค้น สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานเรื่อง “วัสดุครัยโอเจลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับประยุกต์ใช้งานทางสิ่งแวดล้อม” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ และทีมวิจัย คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

ประเภทผลงานประดิษฐ์คิดค้น สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากผลงานเรื่อง “เครื่องปฏิกรณ์การพิมพ์สามมิติชนิดพลาสติกผสมตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ สำหรับการผลิตไบโอดีเซลร่วมกับคลื่นเสียงอัตราโซนิก” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤช สมนึก คณะวิศวกรรมศาสตร์

ข่าวยอดนิยม

Facebook Page

แสดงความยินดี

ข่าวล่าสุด

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy