Facebook
Twitter
Email

ระบบการจัดการจริยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพของระบบการจัดการคณะกรรมการจริยธรรมฯ

Ethics1
สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความสำคัญของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสถาบันในการปกป้อง คุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ที่เข้าสู่กระบวนการวิจัย ระบบการจัดการจริยธรรมการวิจัยจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้งานวิจัยของสถาบัน มีคุณภาพ ปลอดภัยแก่อาสาสมัคร ได้ผลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ และเกิดประโยชน์ต่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ประจำสถาบัน โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลของ SIDCER (Strategic Initiative for Developing Capacity for Ethical Review) – Forum for Ethical Review Committee in Asia-Pacific (FERCAP)
 
ระบบการจัดการจริยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพของระบบการจัดการคณะกรรมการจริยธรรมฯ โดย FERCAP/ NECAST เมื่อวันที่ 7 – 9 มีนาคม 2565 ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 มีมติให้การรับรอง โดยคณะกรรมการจริยธรรมฯ เข้ารับโล่ Certificate Recognition (SIDCER – FERCAP) ในที่ประชุม the 22nd FERCAP Annual International Conference ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองแทกู ประเทศเกาหลีใต้ และจะเข้ารับโล่ จาก National Ethics Committee Accreditation System of Thailand (NECAST) ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 Thailand Research Expo 2023 ต่อไป

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy