Facebook
Twitter
Email

สำนักวิจัยฯ ม.อ. จัดบรรยายให้ความรู้ Lab on Chip แก่นักวิจัย เน้นสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านชุดตรวจโรคของประเทศ

สำนักวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการไบโอเซนเซอร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้แก่นักวิจัยในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง “Lab-on-Chip in Medicine” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการ “เครือข่ายศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านชุดตรวจโรค” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นประธานในการเปิดงาน

สำหรับกิจกรรมดังกล่าว เป็นการบรรยายให้ความรู้ ในการสร้างห้องปฏิบัติการบนชิปตั้งแต่การออกแบบ การสร้างแม่แบบด้วยทั้งเทคโนโลยี Photolithography และ 3D printing ตลอดจนการผลิตชิปด้วยพอลิเมอร์ที่มีความปลอดภัยสำหรับงานทางการแพทย์ เพื่อประยุกต์ใช้ทั้งในการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อใช้ในการตรวจวัดและวินิจฉัยโรค การทดสอบยา อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว เหมาะสม และทันสมัย โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในต่างประเทศอย่าง Dr Girija Goyal, Principal Scientist, Wyss Institute, Harvard University ที่มาร่วมบรรยายถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ในหัวข้อ “Clinical mimicry on Human Organs on Chips”รวมถึง วิทยากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มีความเชี่ยวชาญ อาทิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต้องหทัย ไพรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสรัตน์ คงขาว ดร.สมยศ จิรสถิตสิน และ ดร.วรรณวรา ทับทิมแดง ที่มาร่วมถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเพิ่มเติมในด้าน microfluidics และ Lab on a chip ในแง่มุมทางวิจัยและการใช้งานทางการแพทย์

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สุรศักดิ์ กล่าวถึงกิจกรรมในครั้งนี้ว่า เทคโนโลยี microfluidics หรือ ระบบของไหลจุลภาค เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญและกำลังได้รับความสนใจทั่วโลกที่ต้องอาศัยการบูรณาการระหว่างศาสตร์ด้านการแพทย์ วิศวกรรม ฟิสิกส์ ฯลฯ จนนำไปสู่การเป็นระบบหรืออุปกรณ์ตรวจวัดที่เรียกว่า ห้องปฏิบัติการบนชิบ หรือ Lab on a chip  เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นงานด้านการแพทย์ เภสัชกรรม และอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และด้าน biomedical research ที่ให้ผลลัพธ์แม่นยำในการวิเคราะห์ตัวอย่างชีวภาพทางการแพทย์ เหมาะสำหรับการนำมาใช้ทดแทนวิธีการตรวจวัดแบบดั้งเดิม ที่ช่วยลดต้นทุน มีความรวดเร็ว และสะดวกสบายมากยิ่ง โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือราคาสูงมากมาย

ซึ่งหลังจากนี้ จะมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง นั่นคือการประกวดแข่งขัน Hackathon เพื่อเฟ้นหาข้อเสนอโครงการในการประดิษฐ์ต้นแบบชุดตรวจของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อไป ซึ่งผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดจากช่องทางของสำนักวิจัยและพัฒนาได้

ข่าวยอดนิยม

Facebook Page

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy