Facebook
Twitter
Email

ม.อ.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิจัยสู่เชิงพาณิชย์

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.มัทนชัย สุทธิพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิจัยเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนระบบงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” ภายใต้ โครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ ปี 2567 ณ ห้องประชุมทองผาภูมิ ชั้น 2 โรงแรมที อาร์ ร็อค ฮิลล์ TR Rock Hill

โดยกิจกรรมดังกล่าวประกอบไปด้วยการบรรยายในเรื่องการขับเคลื่อนระบบงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายระบบขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรม ที่เน้นให้ผู้เข้าร่วมได้รู้และเข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนงานวิจัยให้เข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรม และสามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้จริง นอกจากนี้ยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการสร้างเครือข่ายนวัตกรรม โดยทีมวิทยากรกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ GROUP DYNAMICS คณะนิติศาสตร์ หลังจากนั้นจึงเป็นการบรรยายในหัวข้อการออกแบบแนวคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Design Thinking) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี ในฐานะนักวิจัยที่ได้รับทุนภายใต้กิจกรรม Preliminary Research (วัสดุธรรมชาติ) ในปี 2567 และควบตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ที่มีโครงการร่วมกับภาคเอกชนมากมาย

นอกจากนั้นในเรื่องที่นักวิจัยควรรู้และให้ความสำคัญเมื่อต้องการนำผลงานเข้าสู่ภาคเอกชนนั้นคือเรื่องของการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IP management) ซึ่งได้ คุณจิตติยุทธ เยี่ยมยกกุล ผู้จัดการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา (IPOP) อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ก่อนจะส่งเวทีต่อให้การบรรยาย เรื่อง การพัฒนาข้อเสนอโครงการและเส้นทางสู่ผลกระทบจากงานวิจัย (Impact Pathway) โดย ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ นักวิจัยที่ได้รับทุนภายใต้กิจกรรม Preliminary Research  (BCG) ปี 2566

และ ผู้อำนวยการศูนย์วิศวกรรมการยาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อนจะจบกิจกรรมในวันแรกด้วยการให้ผู้เข้าร่วมได้รู้ถึงเทคนิคการเตรียมการนําเสนอ Innovation Business Pitching ซึ่งปัจจุบันถือว่าจำเป็นอย่างมากสำหรับนักวิจัย โดยมี ดร.ปิยมิตร ท้วมศรี คณะวิทยาศาสตร์ วิทยากรด้านการพูด การนำเสนอ และเทคนิค Pitching มาให้คำแนะนำ

หลังจากนั้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นภาคการเสวนา เรื่องการให้บริการเพื่อยกระดับผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม โดยวิทยากรทั้งจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และภาคเอกชน และการบรรยายในหัวข้อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาภาคใต้อย่างยั่งยืน จาก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา และ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสในการนำเสนอแนวคิดนวัตกรรม (Pitching) และได้รับคำแนะนำจากวิทยากรเพื่อช่วยเสนอแนะและพัฒนา การนำเสนอ และเทคนิค Pitching ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย

ข่าวยอดนิยม

Facebook Page

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy