เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลชาติ โชติการ คณบดีคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมเวทีเสวนาเรื่อง Blue Carbon ทิศทางการวิจัยทางทะเลของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สนิท อักษรแก้ว ที่ปรึกษาในสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานคณะกรรมการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพสังคม และสิ่งแวดล้อม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุม ร่วมกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ดร.นวรัตน์ ไกรพานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คุณอภิสิทธิ์ เสนาวงศ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จริยาวดี สุริยพันธุ์ จากมหาวิทยาลัยบูรพา และดำเนินการเสวนาโดย ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โดยเป็นหนึ่งกิจกรรมภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” (Thailand Research Expo 2024)
ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว กล่าวถึงความสำคัญของเวทีเสวนานี้ว่า ประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมนำมาสู่การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนการวิจัย Blue Carbon ทางทะเลโดยความร่วมมือกับหลายภาคส่วนในการเชื่อมโยงงานวิจัยไปสู่การเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ Blue Carbon เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และอนุรักษ์การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าได้อย่างยั่งยืน ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ ก็ได้แสดงข้อมูลให้เห็นว่า การวิจัยทางทะเลของประเทศไทยด้าน Blue Carbon นั้น สามารถดำเนินงานได้ในหลากหลายรูปแบบหรือช่องทาง อาทิ deep ocean, nature base solution และศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เพื่อหาวิธีในการฟื้นฟูสู่การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญของประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลชาติ โชติการ ในฐานะนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน จาก วช. ก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิจัยเรื่อง ศักยภาพของการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนและหญ้าทะเลตามธรรมชาติและปลูกบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน มาให้เห็นถึงความสำเร็จของนักวิจัยไทย
เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy