Facebook
Twitter
Email

สำนักวิจัยฯ ม.อ. พร้อมเครือข่าย RUN เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ ผอ.สกสว.ท่านใหม่

รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภศิลป์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับผู้บริหารจาก 8 มหาวิทยาลัยในเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN; Research University Network) ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าพบเพื่อแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง คล้ายหนองสรวง เนื่องในโอกาสเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จากมติเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ณ สำนักงาน สกสว. ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ พญาไท กรุงเทพฯ

โดยการเข้าพบครั้งนี้ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯในเครือข่าย RUN ได้มีโอกาสรับฟังนโยบายการขับเคลื่อนงานวิจัย เพื่อมุ่งเน้นในการนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์และแก้ปัญหา และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งยังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่สอดคล้องกับนโยบายของ สกสว. ต่อไป โดยผู้แทนคณะผู้บริหารของ 8 หน่วยงาน มีดังนี้

  1. ศาสตราจารย์ ดร.ดอกรัก มารอด ประธานเครือข่าย RUN และ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.ครศร ศรีกุลนาถ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีกำกับดูแลงานวิจัยและวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. รองศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  6. รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภศิลป์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ผู้แทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  8. ศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร


ทั้งนี้ผู้อำนวยการ สกสว. ได้ชี้แจงวิสัยทัศน์ของ สกสว. “SRI for All” 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์และแผนด้าน ววน. การบริหารจัดการองค์กร  และการบริหารจัดการกองทุน โดยมีกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ คือ “SILK” ที่ประกอบไปด้วย

  1. SYNERGY & BOUNDARYLESS
  2. INTELLIGENT SRI SYSTEM
  3. LEAP TECHNOLOGY INVESTMENT
  4. KNOWLEDGE GOVERNANCE – SRI FOR ALL

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy