Facebook
Twitter
Email

นวัตกรรมการป้องกัน กำจัดโรคเหี่ยวในกล้วย

นวัฒกรรมป้องกันโรคเหี่ยวในกล้วย

ที่มาและความสำคัญของงานวิจัย

     โรคเหี่ยวในกล้วยเป็นโรคที่กำลังแพร่่ระบาดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย เนื่องจาก ยังไม่มีวิธีการป้องกันกำจัดโรค ทำให้ผลผลิตกล้วยของประเทศมาเลเซียเสียหายถึง90-100เปอร์เซ็นต์ สำหรับในประเทศไทย จังหวัดยะลาเป็นพื้นที่แรกที่พบเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยว และปัจจุบันพบการระบาด ไปยังจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย เช่น ยะลา ปัตตานีนราธิวาส ปัญหาดังกล่าว จึงนำมาสู่การทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วย ที่ประกอบด้วยการจำแนก ชนิดเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวในกล้วย การจำแนกชนิดแมลงนำโรคเหี่ยว การคิดค้นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การวางกลยุทธ์แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรค การจัดทำชุดความรู้การควบคุมโรคเหี่ยวในกล้วย การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานและเกษตรกรในพื้นที่ และการติดตามผลการจัดอบรม เชิงปฏิบัติการเรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคเหี่ยวของกล้วยในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ในปีพ.ศ. 2561

วิธีการดำเนินงานวิจัย

  1. ลงพื้นที่จังหวัดยะลาเพื่อเก็บตัวอย่างกล้วย ที่แสดงอาการโรคเหี่ยว แยกเชื้อสาเหตุโรคให้บริสุทธิ์ ด้วยอาหารสูตรจำเพาะ พิสูจน์โรคตามวิธีการของ Koch (Koch’s postulates) และจำแนกชนิดของเชื้อสาเหตุ โรคด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล

  2. เก็บตัวอย่างแมลงนำโรคด้วยชุดกับดักแมลง ที่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับพื้นที่ จำแนกชนิดแมลงด้วย ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเทคนิคทางชีวโมเลกุล และตรวจหาเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวที่ติดมากับแมลงด้วย เทคนิคทางชีวโมเลกุล

  3. ทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคโดย เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์สารสกัดจากพืชสมุนไพร และ สารเคมีป้องกันกำจัดแบคทีเรียในสภาพห้องปฏิบัติการ เปรียบเทียบกับการใช้สารปฏิชีวนะ

  4. ทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียปฏิปักษ์ และสารเคมีป้องกันกำจัดแบคทีเรียในการควบคุมเชื้อ สาเหตุโรคเหี่ยวของกล้วยในแปลงเกษตรกร อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา และออกแบบเป็นสาร ป้องกันและควบคุมโรคเหี่ยวกล้วย ซึ่งอยู่ในระหว่างจดสิทธิบัตร

  5. เสนอแนะชุดความรู้ใหม่ที่ประกอบด้วยวิธีการและมาตรการป้องกันโรคที่เหมาะสมและสอดคล้องตามบริบทในพื้นที่แก่หน่วยงาน ด้านการส่งเสริม การเกษตรในพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคเหี่ยวในกล้วย พัฒนากลไกความร่วมมือร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดน ภาคใต้(ศอ.บต.) ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืช โดยชีวินทรีย์ แห่งชาติ(ภาคใต้) สำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดยะลา วิทยาลัยชุมชนยะลากลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนคลัสเตอร์ กล้วยหินยะลา เพื่อนำชุดความรู้การจัดการโรคเหี่ยวของ กล้วยไปใช้อย่างยั่งยืน

 

สรุปผลการวิจัย

โรคเหี่ยวของกล้วยเป็นโรคที่เกิดจาก เชื้อแบคทีเรียและมีแมลงเป็นตัวนำเชื้อเข้าสู่พืช ดังนั้นวิธีการที่ใช้เพื่อจัดการโรคเหี่ยวในกล้วยหิน ประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ มาตรการกำจัด การระบาดในพื้นที่อย่างเร่งด่วนด้วยสารเคมี ป้องกันกำจัดแบคทีเรีย ดำเนินการจัดการ ศัตรูพืชในกล้วยแบบผสมผสานด้วยวิธีการ เขตกรรม และการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ ร่วมกับสารสกัดจากพืชสมุนไพร มาตรการ ควบคุมโดยเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกับพื้นที่ระบาด และมาตรการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร โดยตรง ซึ่งโครงการนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร

 

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

  1. เกิดนวัตกรรมชุดความรู้การจัดการโรคเหี่ยวของกล้วย รวมทั้งมีการขอจดสิทธิบัตรสาร ป้องกันและควบคุมโรคเหี่ยวกล้วยและชุดกับดักแมลงนำโรค เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไปยัง จังหวัดใกล้เคียง

  2. ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลและชุดความรู้ทำให้เกิดการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  3. โครงการนี้ทำให้สกว. ร่วมกับ ศอ.บต. นำโดยท่านพลเรือตรีสมเกียรติผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. และ ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. ที่เป็นกลไกการพัฒนาพื้นที่จัดทำข้อมูลจาก งานวิจัยส่งหนังสือเสนอต่อ พณฯ ท่าน นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ผ่าน รองนายกรัฐมนตรีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ทำให้มีข้อสั่งการให้กระทรวง เกษตรและสหกรณ์จัดทำแผนป้องกันและ จัดการโรคทั้งระบบของพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนใต้และ ศอ.บต. ร่วมกับภาคี ที่สำคัญในพื้นที่จัดการกลไกการติดตาม โรคเหี่ยวในกล้วยและสนับสนุนทุนถ่ายทอด 89 ด้านชุมชนและพื้นที่ ผลงานวิจัยเด่น THAILAND SCIENCE RESEARCH AND INNOVATION (TSRI) เทคโนโลยีให้กับคณะผู้วิจัย ผ่านการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และ กำจัดโรคเหี่ยวของกล้วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร มากกว่า 1,050 ราย เลขาธิการ ศอ.บต. ได้เน้นย้ำให้ดำเนินการต่อในการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณ กล้วยในพื้นที่เนื่องจากในพื้นที่กล้วยเป็นพืชที่มีปริมาณความต้องการสูง โดยจะสนับสนุนให้ เกษตรกรปลูกกล้วยเป็นพืชแซมในสวนยางเพื่อให้พอกับความต้องการของผู้ประกอบการแปรรูป กล้วย รวมทั้งเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

 

ความโดดเด่นของผลงานวิจัย

  1. องค์ความรู้เกี่ยวกับเชื้อสาเหตุโรค กลไกการเกิดโรคเหี่ยวของกล้วย กระบวนการเข้าทำลายพืช โดยแมลงนำโรค การแพร่กระจายของเชื้อสาเหตุโรค และชุดความรู้ใหม่เรื่องการป้องกันและควบคุม โรคเหี่ยว

  2. นวัตกรรมสารป้องกันและควบคุมโรคเหี่ยวกล้วยและชุดดักแมลงนำโรคการใช้เชื้อแบคทีเรีย ปฏิปักษ์ สารสกัดจากพืชสมุนไพรร่วมกับวิธีการเขตกรรม ซึ่งสามารถควบคุมโรคเหี่ยวของกล้วย และเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำไปจำหน่ายและมีความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ในผลผลิต (บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่รายงาน TRSK61/1031 – 33) นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการควบคุมการระบาดโรคเหี่ยวของกล้วย ในพื้นที่และสร้างความยั่งยืนให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยเชิงพาณิชย์

ข่าวยอดนิยม

Facebook Page

กิจกรรมที่น่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy