Facebook
Twitter
Email

ม.อ. นำทีมเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคใต้ และภาคีนักวิจัย พาเหรดงานวิจัยกว่า 100 ผลงาน จากหิ้งสู่ห้าง! เน้นคืนกำไร จากงานวิจัย…สู่สังคม

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 12.00 น. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เครือข่ายมหาวิทยาลัยในภาคใต้ และภาคีนักวิจัยเครือข่าย จัดงาน Southern Research Expo & Innovation Showcase 2023 มหกรรมงานวิจัยภาคใต้สุดยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด “Innovation for Society and Future” ที่มุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมมาพัฒนาสังคม และขับเคลื่อนไปยังอนาคตที่ยั่งยืน โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยในภาคใต้ และคณะ/หน่วยงาน รวมถึงสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมและเสวนาใน 3 ด้าน คือ ด้านเกษตรและอาหาร ด้านสุขภาพการแพทย์ และด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ หาดใหญ่ ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มาเป็นประธานเปิดงาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษ ทิศทางนโยบายเพื่อการวิจัยและพัฒนาต่อมหาวิทยาลัยของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืน และทิศทางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ต้องการเน้นให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ที่จะตอบโจทย์เป้าประสงค์ในการพัฒนาวิจัยและนวัตกรรมของกระทรวง 4 ด้าน คือ การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ , การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม , การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจะเป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนากำลังคน และตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศด้วยการพัฒนาศักยภาพงานวิจัย เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรม ที่จะช่วยให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไปได้

หลังจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ เรื่อง “Innovation for Society and Future” โดย รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผู้เป็นฟันเฟืองและแหล่งทุนสำคัญของประเทศ ซึ่งนอกจากการปาฐกถาและบรรยายแล้ว ยังมีภาคของการเสวนาพิเศษที่เปิดเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสายงาน ได้มาแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนรู้ในหัวข้อ “ศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามันกับการยกระดับการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และสังคม” ซึ่งเป็นโรล โมเดลสำคัญที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์คาดหวัง นอกจากนี้ยังมีการเสวนา “นวัตกรรมเกษตรและอาหารสู่ความยั่งยืนแห่งอนาคต” ที่มหาวิทยาลัยทักษิณจัดภายในงาน รวมไปถึงอีกหนึ่งเสวนาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในหัวข้อเรื่อง “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล” และอีกหนึ่งเสวนาที่ผ่านการสั่งสมความรู้ของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มานานกว่า 10 ปี กับการเสวนาเรื่อง “แนวทางการพลิกโฉมพืชกระท่อมด้วยวิจัยและนวัตกรรมสู่ตลาดโลก” ที่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ ที่น่าจับตามอง

อีกหนึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ทั้งจากสถานศึกษาและภาคเอกชนได้เข้าร่วมโดยเฉพาะ คือ Young Researcher Speed Dating ซึ่งเป็นช่วงของการให้นักวิจัยจากแต่ละสถาบัน ได้มาทำความรู้จัก พูดคุยและต่อยอด จับมือทำงานวิจัยร่วมกันในอนาคต ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมสำคัญ ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ทีมวิจัยมากขึ้น

สำหรับกิจกรรมในงาน ยังไม่จบเพียงแค่นั้น ในวันที่ 24 มิถุนายน 2566 วันที่สองของการจัดงาน ที่จัดให้เป็นเวทีประกวดรางวัลนวัตกรรมสงขลานรินทร์ ประจำปี 2565 รอบชิงชนะเลิศ ที่ปั้นนักนวัตกร นักพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ๆ ไปสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ และต่อยอดไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อีกด้วย ซึ่งรางวัลที่หนึ่งได้รับเงินรางวัลถึงหนึ่งแสนบาท เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ในการพัฒนาผลงานต่อไป โดยการประกวดทั้ง 11 ทีม เป็นไปอย่างเข้มข้นตลอดทั้งวัน ซึ่งผลการแข่งขัน มีดังนี้

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy