news2022

สำนักวิจัยและพัฒนาขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.การุณ ทองประจุแก้ว คณะวิทยาศาสตร์ ในโอกาสที่พาผลงานวิจัยเรื่อง "ปัจจัยทางกายภาพบางประการและการพัฒนาระบบเลี้ยงปลากัด (Betta splendens) แบบหนาแน่นในเชิงพาณิชย์" คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย
สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความสำคัญของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสถาบันในการปกป้อง คุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ที่เข้าสู่กระบวนการวิจัย ระบบการจัดการจริยธรรมการวิจัยจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้งานวิจัยของสถาบัน มีคุณภาพ ปลอดภัยแก่อาสาสมัคร ได้ผลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ และเกิดประโยชน์ต่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ประจำสถาบัน โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลของ SIDCER (Strategic Initiative for Developing Capacity for Ethical Review) - Forum for Ethical Review Committee in Asia-Pacific (FERCAP)
สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอร่วมแสดงความยินดี กับ ศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในโอกาสที่ได้รับเลือกเป็น นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) ซึ่งถือเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ท่านที่ 8 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สำนักวิจัยและพัฒนาขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร นักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ และ สถานวิจัยสมุทรศาสตร์ชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ได้รับทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2565 ซึ่งมอบทุนวิจัย 250,000 บาทพร้อมโล่เกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัยสตรีที่มีผลงานโดดเด่นและสร้างประโยชน์ต่อสังคมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อันเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากว่า 20 ปี โดยมีพิธีแถลงข่าวและรับมอบทุนไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ดิ แอทธินี โฮเต็ล กรุงเทพมหานคร โดยมี ผศ.ดร.พลชาติ โชติการ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมแสดงความยินดีด้วย
สำนักวิจัยและพัฒนา ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.ภก. ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ คณะเภสัชศาสตร์ ที่พาผลงานวิจัยเรื่อง “ลูกอมเม็ดนิ่ม [6]-จินเจอรอล สำหรับแก้เมารถเมาเรือ” ไปคว้ารางวัล ในงาน “The International Trade Fair – Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2022) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 30 ตุลาคม 2565 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งผลงานของนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับถึง 2 รางวัล คือรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก Korea Invention Promotion Association (KIPA) ประเทศเกาหลี
ศาสตราจารย์ ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล ได้รับการยกย่องและยอมรับในฐานะนักวิจัยแถวหน้าทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับโลก จากการสั่งสมประสบการณ์และผลงานมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง รวมถึงรางวัลต่างๆ มากมาย อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รางวัลนักวิจัยแห่งชาติ รางวัลศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รางวัลวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจากมูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 นักวิจัยแกนนำของไทย ประจำปี 2563 จากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอาจารย์เชี่ยวชาญใน 2 สาขา คือ คุณภาพอาหารทะเล และการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้จากการแปรรูปสัตว์น้ำ

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy