การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) เพื่อช่วยทำงานวิจัยเป็นหนึ่งในการปรับใช้เทคโนโลยีที่มีความสำคัญที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในสาขาต่าง ๆ อาทิ การแพทย์, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรม, การวิจัยด้านสังคม และหลายสาขาอื่น ๆ ที่ต้องการการสร้างความเข้าใจลึกซึ้งและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน วันนี้มาแนะนำ 4 Ai ที่จะช่วยให้การทำวิจัยรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
ChatGPT เป็น Chatbot มีความสามารถในการเรียนรู้ข้อมูลได้อย่างมหาศาล ก่อนที่จะนำข้อมูลทั้งหมดเหล่านั้นมาทำการวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อตอบคำถามและข้อสงสัยให้กับผู้ใช้งานได้อย่างครอบคลุมในหลาย ๆ แง่มุม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการให้ข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถนำมาประยุทต์ใช้กับงานวิจัยได้ เช่น ใช้สำรวจไอเดีย อธิบายหัวข้อที่เราสนใจ สรุปบทความ รวมไปถึงการตอบคำถามต่างๆที่เราอยากรู้
SciSpace เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมบทความวิจัยจำนวนมาก 137.8 ล้านบทความ ตีพิมพ์ระหว่างปี 1800-2023 เราสามารถค้นหาบทความวิจัยต่างๆ ที่เราสนใจได้ ซึ่งไฮไลท์ของ SciSpace คือ Chatbot Copilot ที่ทำให้เราสนทนา ถาม-ตอบ เกี่ยวการอ่านทำความเข้าใจ และเรียนรู้ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งเนื้อหาในบทความรวมถึงการอธิบายภาพหรือตารางในบทความ หรือแม้กระทั่งการสรุปข้อมูลเพื่อให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น
Quillbot เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้การพิมพ์หรือเขียนงานภาษาอังกฤษได้อย่างกับเราเป็นเจ้าของภาษา ด้วยการทำงานของ AI มีฟีเจอร์หลากหลาย เช่น Paraphrase ประโยคให้สละสลวย
นอกจากนี้สามารถสรุปใจความสำคัญของประโยคให้สั้นกระชับ แก้ Grammar ให้ไม่มีพลาด แถมช่วยเขียน Citation หรืออ้างอิงได้อีกด้วย
Grammarly เป็นเครื่องมือตรวจคำและไวยากรณ์ออนไลน์ที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อช่วยคนเขียนและผู้ใช้ทั่วไปปรับปรุงคุณภาพของข้อความเป็นภาษาอังกฤษ. การใช้ Grammarly ช่วยแก้คำผิด ตรวจการใช้คำและไวยากรณ์ผิดพลาด และแสดงข้อเสนอแนะเพื่อที่จะปรับปรุงความถูกต้องและคุณภาพของข้อความ.
เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy