Facebook
Twitter
Email

สำนักวิจัยฯ ม.อ. จัดอบรม Tip & Trick การใช้ ChatGPT ช่วยทำงานวิจัยได้อย่างไรและไม่ผิดหลักจริยธรรมการวิจัย

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยฝ่ายบูรณภาพการวิจัย จัดกิจกรรมอบรมหัวข้อ “Tip & Trick การใช้ ChatGPT ช่วยทำงานวิจัยได้อย่างไรและไม่ผิดหลักจริยธรรมการวิจัย” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายและให้ความรู้แก่นักวิจัย ผ่านระบบ Zoom และถ่ายทอดสดผ่าน Fanpage ของสำนักวิจัยและพัฒนา

รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภศิลป์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ได้กล่าวถึงความสำคัญว่า ปัจจุบัน AI ถือว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ ที่ช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากขึ้น สร้างความรวดเร็วให้การทำงาน แต่ขณะเดียวกันก็เกิดโทษที่บางครั้ง นักวิจัยบางคนเลือกให้ AI ทำงานแทน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดหลักจริยธรรมการวิจัย การอบรมครั้งนี้ จึงเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้รู้กระบวนการใช้งาน ChatGPT เพื่อนำไปพัฒนางานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ไม่ขัดต่อหลักการทางด้านจริยธรรม ซึ่งนักวิจัยควรตระหนักเรื่องนี้อย่างมาก

Chat GPT คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกโปรแกรมขึ้นมาให้สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองผ่านวิธีการที่เรียกว่า Reinforcement Learning from Human Feedback หรือ RLHF จนทำให้ Chat GPT สามารถตอบคำถามได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถลอกเลียนบทสนทนา หรือแม้แต่ปฏิเสธคำขอที่ไม่เหมาะสมได้ Chat GPT จึงได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้การทำงานที่ยากและต้องใช้เวลานานกลายมาเป็นเรื่องที่สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy