จริยธรรมในมนุษย์

การอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมและวิทยาศาสตร์ในการดำเนินการศึกษาวิจัยโดยการทดลองในมนุษย์
อบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เ พื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักการและจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์ เพื่อให้นำไปปรับใช้ในการทำวิจัยอย่างถูกต้อง
สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ ม.อ. ผ่านการตรวจประเมินคุณภาพของระบบการจัดการคณะกรรมการจริยธรรมฯ โดย FERCAP และ NECAST
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ม.อ. ประกาศหลักเกณฑ์การเก็บค่าธรรมเนียมการยื่นพิจารณาจริยธรรมในมนุษย์ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ 0-7428-6955
ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโอกาสเข้ารับโล่และประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ (NECAST)ในงานมหกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2566 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความสำคัญของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสถาบันในการปกป้อง คุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ที่เข้าสู่กระบวนการวิจัย ระบบการจัดการจริยธรรมการวิจัยจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้งานวิจัยของสถาบัน มีคุณภาพ ปลอดภัยแก่อาสาสมัคร ได้ผลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ และเกิดประโยชน์ต่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ประจำสถาบัน โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลของ SIDCER (Strategic Initiative for Developing Capacity for Ethical Review) - Forum for Ethical Review Committee in Asia-Pacific (FERCAP)

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy