กลับไปเว็บไซต์เดิม

Facebook
Twitter
Email

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ”ดาวหางฮัลเลย์”

ฝนดาวตกโอไรออนิด
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ชวนชม ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ “ดาวหางฮัลเลย์” เมื่อครั้งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22:30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาคม บริเวณกลุ่มดาวนายพราน (Orion) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง หากฟ้าใสไร้ฝน ลุ้นชมความสวยงามได้ทั่วประเทศ

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ (Orionids) เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของ “ดาวหางฮัลเลย์” ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1P/Halley ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจร โดยจะเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือน ต.ค. ของทุกปี โดยในปี 2566 จะมีศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่ที่กลุ่มดาวนายพราน (Orion) และมีอัตราการตกประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง

ดาวหางฮัลเลย์ จะโคจรมาอวดโฉมในทุก ๆ 75-76 ปี ซึ่งแต่ทุกครั้งที่เคลื่อนที่เข้ามา รังสีจากดวงอาทิตย์จะทำให้ดาวหางสูญเสียมวลของตัวเองไปเรื่อย ๆ และมีขนาดเล็กลง 1-3 เมตรในแต่ละรอบ

กระแสดาวหางฮัลเลย์ เกิดขึ้นมาจากวง fellow ได้ปล่อยเพลง “ดาวหางฮัลเลย์” มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องราวของความรักที่คาดหวังจะยาวนานเหมือนดาวหางฮัลเลย์ ซึ่งมีระยะเวลารอบบริบูรณ์มากถึง 76 ปี มันสื่อถึงความตั้งใจในความรักที่ยืนยาวและความพร้อมที่จะติดตามความรักนี้ตลอดเวลา

เนื้อร้องบางส่วนของเพลง
” และมีดาวหางดวงนึงที่ยังโคจรในอวกาศ
ในช่วงชีวิตจะมีหนึ่งครั้งที่มองเห็นได้ด้วยตา
ดาวที่ฉันยังไม่เคยเห็นมาก่อน
ขอให้ถึงวันนั้น ได้มีเธอรอดูมันด้วยกันกับฉัน
ขออยู่ในชีวิตที่เหลือของเธอได้ไหม
อยากลืมตาแล้วได้พบเธอจนวันสุดท้าย
อยากเป็นคนที่ได้นอนดูดาวข้างเธออีกหมื่นวัน
และเอนไปจุมพิตเธอซักล้านครั้ง
อยู่กับฉันไปนานๆ นะเธอ “

ข่าวยอดนิยม

Facebook Page

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy